ความหมาย ความสำคัญ เครื่องมือศึกษาครอบครัว หลักการ รูปแบบและบทบาทหน้าที่ของ ครอบครัว เพื่อความรู้ความเข้าใจในการเสริมสร้างพลังและวินัยเชิงบวก รวมไปถึงการเสริมสร้างทักษะและ คุณค่าของชีวิต การปรับตัวของครอบครัวที่มีเด็กปฐมวัยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและแนวทางการแก้ไข ปัญหา ซึ่งเชื่อมโยงกันกับการศึกษาในระดับชุมชน ประกอบไปด้วยความสำคัญของชุมชน ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ศึกษาชุมชน การเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย และหลักการทำ โครงการชุมชน นำไปสู่การมีส่วนร่วมของชุมชนและครอบครัวในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตในเด็กสืบ ต่อไป

การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เทคนิคการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมให้เด็กพัฒนาด้านภาษา/การคิดวิเคราะห์/วิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ ให้เด็กได้เล่นและเรียนรู้อย่างหลากหลายในชีวิตประจำวันเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและตามสภาพแวดล้อมของสังคมที่เด็กอยู่อาศัย

พัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรมทักษะและคุณลักษณะที่สำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น พื้นฐานคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี อันจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กในอนาคต เข้าใจและควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ทั้งในด้านการเรียนรู้ การทำงาน สุขภาพ และการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม แนวคิดพื้นฐานและโมเดลของการเรียนรู้และ วิธีการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กในแต่ละช่วงวัย บทบาทของครอบครัวและผู้ใหญ่ที่มีต่อการพัฒนาการของทารกและเด็กเล็กการประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง  การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมในกิจวัตรประจำวัน

พัฒนาการด้านภาษา  การรู้ภาษาที่ 2 (ภาษาอังกฤษ) และการพัฒนาภาษาของเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ ให้มีความสามารถในการใช้ภาษาพูด ภาษาท่าทาง และการพัฒนาสุนทรียภาษาสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบอย่างเป็นธรรมชาติ รวมถึงการคัดสรร นำสื่อการเรียนรู้ และหนังสือดีไปใช้ในการจัดกิจกรรมการพัฒนาภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และสุขภาวะทางกาย พัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ การคิด และสติปัญญา ภาษา จริยธรรม และการสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการ“อ่าน ท่อง ร้อง เล่า เล่น”เพื่อพัฒนาสมองของเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ

ความสำคัญ ประโยชน์ของสื่อและของเล่น ประเภทของสื่อและของเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบการเลือกใช้สื่อและของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบแต่ละช่วงวัย เทคนิควิธีการใช้สื่อและของเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ  การออกแบบและการผลิตสื่อและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรายด้าน และ การประเมินและการตรวจคุณภาพสื่อสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมองและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่ครอบคลุมด้านการเคลื่อนไหว สติปัญญา การสื่อสาร สังคมและอารมณ์  ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานของพัฒนาการของสมอง และรู้ว่าพัฒนาการของเด็กปฐมวัยนั้นซับซ้อนและได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบหลายส่วนในหลายระดับ ตั้งแต่โครงสร้างสมองภายในตัวเด็ก ครอบครัว สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ชุมชน สังคม ไปจนถึงวัฒนธรรมและค่านิยมของประเทศ ปฎิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนภายในและสภาพแวดล้อม การก่อรูปพัฒนาการของเด็ก ความเข้าใจเรื่องพัฒนาการเด็กปฐมวัยและสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยใช้ความรู้สหวิทยาการ  สมองกับพัฒนาการด้านการรู้คิดและหน้าที่ปฏิบัติภารกิจ

(EF)

ความสำคัญของผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เกิดจากกลุ่มโรคแห่งศตวรรษที่ 21 การปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ดี การปรับพฤติกรรมตัวเอง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจากโรคกลุ่มนี้ และในการบูรณาการสู่กิจกรรมรายวันในสถานพัฒนาเด็ก เพื่อให้เด็กชินกับวิถีปฏิบัติและเกิด การบริหารจัดการตัวเองสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี แหล่งข้อมูลที่จะช่วยสนับสนุน การสร้างความเข้าใจ การได้เรียนรู้เทคนิค การบริหารจัดการด้านพฤติกรรม

การสร้างเสริม สุขภาพ และ ความมั่นคงปลอดภัย กรอบการเลี้ยงดูทารกและเด็กเล็กต้นทุนทักษะความสามารถของเด็กในการเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ อุปนิสัย/คุณลักษณะพร้อมใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21  พื้นฐาน ในการส่งเสริมสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัย  การเฝ้าระวังปัญหา การป้องกันอุบัติภัย อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล  ความสำคัญของการเลี้ยงดูคู่การเรียนรู้ การเจริญเติบโต การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพจำเป็นสู่สุขภาพดีและความมั่นคงปลอดภัย : กิน นอน ขับถ่าย ความกังวลการแยกจาก (separation anxiety)  รวมทั้งเรื่องที่ต้องคือ การรู้ทัน ปัญหาสุขภาพพัฒนาการ และเฝ้าระวังพฤติกรรม ความพิการตั้งแต่กำเนิดที่พบบ่อย โอกาสการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัย การป้องกันและการปฐมพยาบาล